พืชในป่าชายเลน
พรรณไม้ในป่าชายเลนประกอบด้วยพันธุ์ไม้ป่าชายเลน (mangrove) ซึ่งเป็นไม้พุ่มที่ทนต่อความเค็มของน้ำทะเลมีรากอากาศและระบบรากที่ทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในดินที่มีสภาพขาดออกซิเจนได้ นอกจากนั้นยังพบพันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆอาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากป่าชายเลนเป็นบริเวณเชื่อมต่อจากป่าบกจึงพบพันธุ์ไม้หลายชนิดจากบนบกที่อยู่ร่วมกับป่าชายเลนและพันธุ์ไม้จะขึ้นอยู่ในลักษณะเป็นเขตแนวของแต่ละชนิดโดยมีแบบแผนแน่นอนพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่พบได้ทั่วไป ได้แก่
ชื่อไทย : โกงกางใบเล็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhizophora apiculata
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhizophora apiculata
พันธุ์ไม้สำคัญที่พบมากในป่าชายเลน ลักษณะคล้ายคลึงกับโกงกางใบใหญ่แต่ใบมีขนาดเล็กกว่าตรงโคนต้นแตกรากค้ำจุนมากฝักมีขนาดเล็กยาวประมาณ 30 เซนติเมตร เมื่อร่วงหล่นลงสู่พื้นจะปักดินและงอกขึ้นมาเป็นต้นโกงกางทั้งสองชนิดมักขึ้นอยู่ริมชายฝั่งของเขตแนวป่าด้านนอก
ชื่อไทย : โกงกางใบใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhizophora mucronata
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhizophora mucronata
มีลักษณะต้นตั้งตรงและแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มบริเวณเรือนยอด รากค้ำจุนแตกออกตรงโคนต้น ใบขนาดใหญ่เป็นมันผลสีน้ำตาลมีการงอกของเมล็ดตั้งแต่อยู่บนต้นยื่นลงมาเป็นท่อนยาวสีเขียวขนาดยาวประมาณ 50 เซนติเมตรเมื่อร่วงหล่นลงสู่พื้นโคลนจะปักลงไปในดินและเจริญงอกขึ้นมาเป็นต้น
ชื่อไทย : แสมขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Avicennia alba
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Avicennia alba
พันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่พบมากอีกชนิดหนึ่งลักษณะต้นสูงใหญ่ตรงโคนต้นมีรากอากาศโผล่พ้นพื้นดันขึ้นมาเป็นเส้นขนาดยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง กลิ่นหอม ผลมีรูปร่างกลมรีคล้ายผลมะม่วงขนาดเล็กเมื่อหล่นลงสู่พื้นจึงงอกขึ้นเป็นต้นใหม่หรือถูกพัดพาไปกับน้ำทะเล
ชื่อไทย : ประสัก หรือ พังกาหัวสุม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bruguiera gymnorrhiza
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bruguiera gymnorrhiza
ขึ้นแทรกอยู่ในเขตป่าโกงกางใบมีผิวเรียบมันดอกประสักมีกลีบเลี้ยงสีแดงผลมีการงอกของเมล็ดตั้งแต่ยังอยู่บนต้นลักษณะเป็นท่อนยาวประมาณ 12 เซนติเมตรเมื่อร่วงหล่นปักลงบนพื้นดินโคลน จะงอกรากและเจริญเป็นต้น
ชื่อไทย : ลำพู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sonneratia caseolaris
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sonneratia caseolaris
มักพบขึ้นปะปนกับแสมบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นแหล่งน้ำกร่อยมีรากอากาศขนาดใหญ่ที่แทงขึ้นมาจากพื้นดินเห็นได้ชัดเจนหิ่งห้อยชอบอาศัยอยบนต้นลำพู่และส่งแสงกระพริบในเวลากลางคืน
ชื่อไทย : จาก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nypa frutican
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nypa frutican
พืชจำพวกปาล์มที่พบขึ้นอยู่หนาแน่นบริเวณริมฝั่งคลองของป่าชายเลนหรือบริเวณน้ำกร่อยชาวประมงนิยมนำใบจากไปมุงหลังคาบ้านผลลักษณะเป็นทะลายแทงขึ้นมาจากกอ
ชื่อไทย : ตะบูนขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xylocarpus granatum
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xylocarpus granatum
พบขึ้นอยู่ทางเขตด้านในถัดจากโกงกางเข้าไปซึ่งเป็นเขตตะบูนและโปรงลักษณะโคนต้นมีรากแผ่ออกเป็นพูพอนขนาดใหญ่ผลมีขนาดและรูปร่างคล้ายมะตูมเมื่อผลแห้งจะแตกออกมีเมล็ดขนาดใหญ่อยู่ภายใน
ชื่อไทย : โปรง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ceriops tagal
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ceriops tagal
ขึ้นปะปนกับตะบูน ลำต้นตั้งตรงขนาดสูงประมาณ 5 เมตรเมื่อติดผลมีลักษณะคล้ายคลึงกับฝักโกงกางใบเล็กต้นโปรงจะขึ้นอยู่บนพื้นดินที่ค่อนข้างแข็งในเขตเดียวกับตะบูน
ชื่อไทย : ตาตุ่มทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Excoecaria agallocha
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Excoecaria agallocha
พันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่มียางพิษสีขาวหากเข้าตาจะทำให้อักเสบพบขึ้นปะปนอยู่กับต้นฝาด สังเกตต้นตาตุ่มได้เมื่อใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงก่อนที่จะร่วงหล่น
ชื่อไทย : ฝาดดอกแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lumnitzera littorea
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lumnitzera littorea
ไม้ป่าชายเลนขนาดต้นใหญ่ลำต้นสีดำใบเล็กอวบน้ำดอกออกเป็นช่อสีแดงออกดอกชุกในช่วงฤดูฝนซึ่งจะมีนกกินน้ำหวานหลายชนิด เช่น นกกระจิบ นกแว่นตาขาว และนกกินปลีที่อาศัยอยู่ตามป่าชายเลนชอบมาดูดน้ำหวานจากดอกฝาดสีแดงเหล่านี้
ชื่อไทย : เสม็ด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melaleuca leucadendron
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melaleuca leucadendron
พืชยืนต้นที่ขึ้นอยู่ทางเขตด้านในสุดของป่าชายเลนเชื่อมต่อกับป่าบกดอกเป็นช่อสีขาวส่วนใหญ่ของพื้นที่ป่าเสม็ดจะมีน้ำท่วมถึงเฉพาะช่วงน้ำเกิดในฤดูหนาวเท่านั้นเปลือกของเสม็ดนำมาชุบน้ำมันยางใช้ทำขี้ไต้สำหรับจุดไฟซึ่งเป็นที่นิยมของชาวประมง
นอกจากพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่ได้กล่าวมาเบื้องต้นบริเวณป่าชายเลนยังมีพันธุ์ไม้อีกหลายชนิด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น